รายงานประเทศไทย: เพื ่ อศึกษาการแสวงหา ประโยชน์ทางเพศจาก เด็กชาย 2021

รายงานประเทศไทย: เพื ่ อศึกษาการแสวงหา ประโยชน์ทางเพศจาก เด็กชาย 2021

รายงานประเทศไทย: เพื ่ อศึกษาการแสวงหา ประโยชน์ทางเพศจาก เด็กชาย 2021

กิตติกรรมประกาศ รายงานฉบับนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่าง สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (Thailand Institute of Justice – TIJ) และองค์กรเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล (ECPAT International) ระหว่าง ปี พ.ศ. 2562-2563

คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ Dr. Meredith Dank Mr. Jarrett Davis และ Mr. Alastair Hilton ที่ได้ให้ เกียรติเป็นที่ปรึกษาโครงการในการสําหรับออกแบบ โครงการที่มีคุณภาพ ให้ความช่วยเหลือในการวิเคราะห์ ข้อมูลผลวิจัย อันเป็นผลให้การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย และโครงการดำ เนินจนสำ เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณ คุณ Maia Mounsher คุณปริญญา จองไพจิตรสกุล คุณกัมพล ใหม่จันทร์ ดี และคุณอรุณเดช เฌอหมื่อ จากมูลนิธิ เออเบิร์น ไลท์ (ประเทศไทย) ที่เป็นผู้ให้ทั้งทักษะ ความรู้ ความ เชี่ยวชาญและการประสานงานด้านต่าง ๆ โดยตลอดมา

องค์ประกอบต่างๆ ในโครงการวิจัยนี้มาจากความ ร่วมมือกับองค์กรภาคีในจังหวัดเชียงใหม่ พัทยาและ กรุงเทพมหานคร ที่ให้บริการและเป็นตัวแทนของ กลุ่มประชากรเป้าหมายสําหรับงานวิจัยนี้ คณะผู้จัดทำ จึงใคร่ขอขอบคุณองค์กรต่างๆที่ให้คำแนะนำอันเป็น ประโยชน์และสนับสนุนกิจกรรม ดังต่อไปนี้:

  • ผู้ดำ เนินการสัมภาษณ์กลุ่มเยาวชนที่มีความหลากหลาย ทางเพศ
  • คุณ “นนนี่” ณัฐวิโรจน์ อินทะนิน จากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
  • คุณ “ป๊อป” กัมพล ใหม่จันทร์ดี จากมูลนิธิ เออเบิร์น ไลท์ ประเทศไทย
  • คุณ “ฟ้า” ปวรา อินเหลา จาก V-Power
  • CAREMAT

การประสานงานและทำการสํารวจผู้ให้บริการส่วนหน้า:

  • คุณ ‘ม่อน’ อรุณดช เฌอหมื่อ จากมูลนิธิ เออเบิร์น ไลท์ ประเทศไทย ƒ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
  • มูลนิธิซิสเตอร์

จากองค์กรเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล ยังได้รับความ ช่วยเหลือจาก Dr. Mark Kavenagh ในการประสานงาน ด้านวิชาการ เเละ Ms. Andrea Varrella ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจาก Ms. Subha Nivedha และ Mr. Mark McKillop ขอขอบคุณ คุณวรวรรณ จิรธนาภิ-วัฒน์ และคุณสันทนี ดิษยบุตร ที่ช่วยตรวจทานเนื้อหาบท วิเคราะห์ทางกฎหมาย

คุณกิตติภูมิ เนียมหอม ผู้อำ นวยการสำ นักกิจการต่าง ประเทศและประสานนโยบายจากสถาบันเพื่อการ ยุติธรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยทีมงานซึ่งประกอบ ด้วย คุณอุษา เลิศศรีสันทัด คุณอรปวีณ์ เอื้อนิรันดร์ คุณกาญจนฉัตร มิ่งมงคล และ ดร. เชิญพร เรืองสวัสดิ์ ผู้ตรวจทานและแสดงข้อคิดเห็นรวมถึงคำแนะนำสําหรับ รายงานฉบับสมบูรณ์ และขอขอบพระคุณอดีตเจ้าหน้าที่ ของ TIJ ที่ร่วมทํางานในโครงการนี้ อันได้แก่ คุณกรวิไล เทพพันธ์กุลงาม และคุณณัฐวุฒิ วรคันธา

เราขอขอบคุณ คุณมลธิชา พุทธวงศ์, คุณภัทรวดี ระหา, คุณคริสต์มาส คงมาก และ ณัฏฐณิชา เลอฟิลิแบร์ต ผู้ ทำ ให้งานแปลภาษาไทยสำ เร็จลุล่วงตลอดโครงการ และ โครงการวิจัยนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากขาดเยาวชนและ เจ้าหน้าที่ให้บริการส่วนหน้าที่มีส่วนร่วมและยินยอมแบ่ง ปันประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึก

ผู้สนับสนุนงบประมาณ

โครงการวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนด้าน งบประมาณจากสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย การสนับสนุนจากผู้บริจาคไม่ถือเป็นการรับรองความคิด เห็นที่แสดงออกมาในรายงานฉบับน

บทสรุปผู้บริหาร

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความชัดเจนมากขึ้นว่ามีช่องว่าง ของความเข้าใจทั่วโลก ต่อผลกระทบที่เด็กชายได้รับจาก การถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยว กับความชุกของการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก มักมีน้อย หรือถ้าปรากฎ ก็มักเป็นข้อมูลที่มุ่งเน้นไปที่เด็ก หญิง หลักฐานอันจำกัดเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ ทางเพศจากเด็กชายที่มีอยู่บ่งชี้ว่า ในสภาพแวดล้อม บางอย่าง เด็กผู้ชายได้รับผลกระทบมากกว่าที่เข้าใจกัน นอกจากนี้ ยังเป็นที่ทราบกันดีว่าเด็กบางกลุ่มมีความ เสี่ยงต่อการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศมากกว่ากลุ่ม อื่นๆ อาทิเช่น กลุ่มที่มีเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศและการ แสดงออกทางเพศที่หลากหลาย ดังนั้น จึงมีความจำ เป็น ที่ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ทาง เพศจากเด็กในทุกเพศ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักฐาน ตามความเป็นจริง

โครงการระดับสากลของเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล จึงกำ เนิดขึ้นเพื่อศึกษาสถานการณ์การแสวงหาประโยชน์ ทางเพศจากเด็กชาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความ ตระหนักถึงความจำ เป็นเหล่านี้ รายงานฉบับนี้มุ่งเน้นไป ที่ประสบการณ์ของเด็กชายและกลุ่มเยาวชนที่มีความ หลากหลายทางเพศในประเทศไทย ซึ่งมักเป็นประเทศ แนวหน้าในการดำ เนินการป้องกันและตอบสนองต่อการ แสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก

เพื่อสะท้อนความเปราะบางที่เด็กชายและกลุ่มเยาวชนที่ มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยต้องเผชิญ ในปี พ.ศ. 2563 โครงการวิจัยนี้ได้ทำการสำ รวจผู้ให้บริการ ส่วนหน้า (frontline service providers) สัมภาษณ์กลุ่ม เยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศที่มีการแลกเปลี่ยน บริการทางเพศกับเงินและสิ่งของ และวิเคราะห์ข้อ กฎหมาย รายงานฉบับนี้นำ เสนอข้อค้นพบดังกล่าว

วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ คือ

  • เพื่อสะท้อนมุมมองและทัศนคติของผู้ให้บริการส่วน หน้าต่อการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กชาย และให้คำแนะนำ ในการเสริมสร้างศักยภาพ การฝึก อบรมและการให้การสนับสนุนแก่ผู้ให้บริการเหล่านั้น
  • เพื่อสร้างความเข้าใจอันมีอยู่อย่างจำกัด เกี่ยวกับ ประสบการณ์ของเยาวชนที่มีความหลากหลายทาง เพศและปัจจัยผลักดัน ปัจจัยดึงดูดในการเข้าสู่การ แลกเปลี่ยนบริการทางเพศกับเงิน (รวมถึงกรณีการ แสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก) และจัดทำข้อ เสนอแนะสำ หรับผู้กำ หนดนโยบาย ผู้ให้บริการทาง สังคมและการริเริ่มการแก้ไขปัญหาในระดับชุมชน
  •  เพื่อชี้ให้เห็นถึงช่องว่างทางกฎหมาย อุปสรรคและ โอกาสในการจัดการกับการแสวงหาประโยชน์ทาง เพศของเด็กชายโดยใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานในการ ทบทวนกรอบกฎหมายของประเทศเพื่อผลักดันให้เกิด การปรับปรุงข้อกฎหมายในอนาคต

ระเบียบวิธีวิจัย

วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี ขึ้นเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ในเด็กชาย และกลุ่มเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศใน ประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ : 1) ทำการสำ รวจผู้ให้บริการสวัสดิการสังคมส่วน หน้า 2) การสัมภาษณ์เยาวชนที่มีที่มีความหลากหลาย ทางเพศที่ยังคงมีการขายบริการทางเพศในปัจจุบัน 3) การวิเคราะห์โดยละเอียดของกรอบกฎหมายไทยโดย ละเอียด ทั้งนี้ มีการจัดทำแบบสำ รวจผู้ให้บริการส่วน หน้า ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และพัทยา นอกจาก นี้ ยังมีการดำ เนินการสัมภาษณ์เยาวชนที่มีความหลาก หลายทางเพศในกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่

การสำ รวจความคิดเห็นของผู้ให้บริการส่วนหน้านั้น ดำ เนินการร่วมกับมูลนิธิ เออเบิร์น ไลท์ ประเทศไทย มูลนิธิซิสเตอร์และสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรของไทยที่ทำ งานโดยตรงกับผู้เสียหายเพศ ชายที่ถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การคัดเลือกผู้เข้า ร่วมการสำ รวจผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์อย่างน้อยสิบสอง เดือนในการจัดบริการสวัสดิการในพื้นที่ 1 ใน 3 แห่งที่ ระบุข้างต้น และปัจจุบันยังคงทำ งานในด้านการให้ ความช่วยเหลือเด็กชายผู้เสียหาย

ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้ให้บริการส่วนหน้า (frontline service provider) จำ นวน 65 คน ซึ่งปัจจุบัน เป็นผู้ให้บริการช่วยเหลือผู้เสียหายที่เป็นชายจากการ ถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ได้ตอบแบบสำ รวจซึ่ง ประกอบด้วยคำถามแบบปรนัยจำ นวน 89 ข้อ คำถาม ที่สมมติขึ้นตามสถานการณ์ต่างๆ และคำถามปลายเปิด คำถามในการสำ รวจรวมถึงมุมมองของผู้ให้บริการเกี่ยว กับปัจจัยที่ทำ ให้เด็กชายและเยาวชนที่มีความหลาก หลายทางเพศ มีความเปราะบางต่อการถูกแสวงหา ประโยชน์ทางเพศ และความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดแข็งและ จุดอ่อนของการให้บริการ ผู้ตอบแบบสอบถามหลาย คนตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมและยกตัวอย่างประกอบ มีการ ประเมิน ให้มุมมองและประสบการณ์ในการตอบแบบ สำ รวจ ซึ่งนำ เสนอข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับการ คุ้มครองเด็กที่ยังไม่ได้รับการวิจัยและรายงานมาก่อน

การสัมภาษณ์เยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ จำ นวน 20 ราย ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนบริการ ทางเพศกับเงินและสิ่งของ ยังดำ เนินการร่วมกับ องค์กรท้องถิ่น ได้แก่ CAREMAT, มูลนิธิเออเบิร์น ไลท์ ประเทศไทย V-Power ในเชียงใหม่ และจากมูลนิธิฟ้าสี รุ้งแห่งประเทศไทยในกรุงเทพมหานคร ซึ่งแต่ละองค์กร มีความเชี่ยวชาญในการทำ งานร่วมกับกลุ่มเยาวชนที่มี ความหลากหลายทางเพศ ผู้ทำการสัมภาษณ์ได้รับการ คัดเลือกอย่างรอบคอบและมีประสบการณ์ชีวิตที่ คล้ายคลึงกันกับผู้ถูกสัมภาษณ์ โดยคณะวิจัยผ่าน การฝึกอบรมสองสัปดาห์ก่อนทำการสัมภาษณ

เกณฑ์คุณสมบัติเฉพาะ รวมถึงผู้ได้รับการสัมภาษณ์จะ ต้องมีอายุระหว่าง 15–24 ปี ที่ระบุว่าเป็นเยาวชนที่มี ความหลากหลายทางเพศ (หรือกลุ่มรักต่างเพศที่มีเพศ สัมพันธ์กับคนที่เป็นเพศเดียวกัน) และเกี่ยวข้องกับการ แลกเปลี่ยนบริการทางเพศเพื่อเงิน และ/หรือ สิ่งของ มีค่า ในจังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วม กิจกรรมได้รับการกำ หนดว่าต้องเป็นผู้ที่ได้รับการบริการ สนับสนุนบางรูปแบบอยู่ เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัย ทางจิตใจขณะที่เข้าร่วมการศึกษาที่มีความละเอียดอ่อน นี้ คำถามในการสัมภาษณ์เหล่านี้ มีตั้งแต่คำถามเกี่ยว กับภูมิหลังและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ไปจนถึงวิธีที่ผู้ได้รับการสัมภาษณ์มีส่วนร่วมในการแลก เปลี่ยนบริการทางเพศ และประสบการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับ เรื่องนี้

ในการวิเคราะห์กรอบกฎหมายไทยโดยละเอียด เอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ทำ งานร่วมกับเจ้าหน้าที่ จากสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อ ประเมินว่ากรอบกฎหมายในปัจจุบันสามารถแก้ไขต่อ ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศและการแสวงหาประโยชน์ จากเด็กอย่างไร โดยมุ่งเน้นที่เด็กชาย สำ หรับรูปแบบ วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ ที่จัดทำ โดยเอ็คแพท อินเตอร์เนชั่นแนล จะถูกนำ ไปใช้รับการนำ ไปใช้ใน ประเทศอื่น ๆ ต่อไปภายใต้โครงการระดับโลก (Global Boys ‘Initiative) โครงการได้ทำการสร้างรายการ ตรวจสอบกว่า 120 รายการ สำ หรับโครงการ และร่าง รายงานที่ได้รับการตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer – review) กล่าวคือ พนักงานอัยการผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ในประเทศไทย

ระเบียบวิธีวิจัย เครื่องมือวิจัยและข้อค้นพบเบื้องต้นของ การวิเคราะห์กฎหมายได้รับการนำ เสนอและอภิปรายใน การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงผู้แทนจากกระทรวง สำคัญ ๆ ซึ่งจัดขึ้น เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นหลังการ ปรับปรุงข้อเสนอแนะและเมื่อโครงการได้รับการอนุมัติ ด้านจริยธรรมแล้ว

Read or download full report here.